10 ทางเลือกการถนอมอาหารด้วยวิธีธรรมชาติปราศจากสารกันบูด

แม้ว่าสารกันบูดบางชนิดจะมีอันตรายน้อย แต่เราเชื่อว่าอาหารที่สะอาดและปราศจากสารกันบูดเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับร่างกายของคุณมากกว่า

10 วิธีในการถนอมอาหารโดยวิธีธรรมชาติโดยปราศจากสารกันบูด ได้แก่

1. การแช่แข็ง (Freezing)

การแช่แข็งเป็นวิธีถนอมอาหารที่ง่ายและมีประสิทธิภาพมากที่สุดวิธีหนึ่ง และเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด คุณควรลงทุนในเครื่องซีลสูญญากาศเพิ่มเติม กุญแจสำคัญในการแช่แข็งที่ดีคือการทำให้แน่ใจว่าอากาศเข้าไปในที่เก็บของคุณให้น้อยที่สุด วิธีนี้จะช่วยปกป้องอาหารของคุณจากการเสียหายเนื่องสูญเสียความชื้นระหว่างการแช่แข็งหรือระหว่างการเก็บรักษา และการเสื่อมสภาพของรสชาติ 

ไม่แนะนำให้แช่แข็งอาหารที่เพิ่งปรุงเสร็จ เพราะความร้อนไม่เพียงแต่จะสร้างไอน้ำ ซึ่งจะเร่งให้อาหารสูญเสียความชื้นเร็วขึ้น แต่ยังช่วยลดอุณหภูมิของอาหารที่อยู่ในช่องแช่แข็งทั้งหมดของคุณและทำให้น้ำแข็งละลายได้ 

2. การหมักด้วยเกลือ (Salting)

การถนอมอาหารด้วยเกลือ เป็นเทคนิคการถนอมอาหารที่มีมานานแล้วก่อนการจะมีเครื่องทำความเย็น เช่นเดียวกับน้ำตาล เกลือจะดึงน้ำออกจากอาหารและทำให้แห้ง แบคทีเรียจึงไม่สามารถอยู่รอดได้หากไม่มีน้ำ พวกมันจึงตายในที่สุด 

3. การบรรจุกระป๋อง (Canning)

การบรรจุกระป๋องเป็นวิธีการเก็บรักษาอาหารที่ยอดเยี่ยมและมีประสิทธิภาพเมื่อดำเนินการอย่างเหมาะสม การบรรจุกระป๋องทำง่ายๆได้โดยการใส่อาหารในขวดโหลและให้ความร้อนถึงอุณหภูมิที่สามารถฆ่าสิ่งมีชีวิตที่ทำลายอาหารได้ เมื่อขวดโหลถูกทำให้ร้อน อากาศจะถูกขับออกและเกิดเป็นผนึกสูญญากาศ 

การฆ่าเชื้อด้วยความร้อนมี 2 วิธี คือ ในหม้อต้ม ซึ่งปลอดภัยสำหรับผลไม้ และแยม  และการอัดแรงดัน สำหรับการถนอมผัก เนื้อสัตว์ และอาหารทะเล

4. การดอง (Pickling)

การดองเป็นประเพณีสากลโบราณที่ใช้ในเกือบทุกวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นกะหล่ำปลีดอง กิมจิ หรือคอมบูชา ซึ่งคุณสามารถหาอาหารดองทานได้เกือบทุกที่ในโลก 

มี 2 วิธีพื้นฐานในการดอง ได้แก่ การแช่อาหารในน้ำส้มสายชู อีกวิธีคือการแช่อาหารในน้ำเกลือเพื่อกระตุ้นการหมัก การหมักช่วยให้การเจริญเติบโตของแบคทีเรีย “ดี” ซึ่งป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ไม่ดีและก่อให้เกิดการเน่าเสีย

5. สารสกัดจากโรสแมรี่ (Rosemary Extract)

โรสแมรี่สามารถใช้เป็นทางเลือกแทน BHA และ BHT ซึ่งเป็นสารกันบูดที่อาจก่อมะเร็ง โดยที่ BHA และ BHT จะใช้เพื่อป้องกันน้ำมันในอาหารไม่ให้ออกซิไดซ์และกลายเป็นกลิ่นหืน 

ในสหภาพยุโรป สารสกัดโรสแมรี่ได้รับการอนุมัติให้ใช้ในการถนอมอาหารในปี 2010 โดย Naturex ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกด้านการจัดหาอย่างยั่งยืน เป็นผู้นำด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ

6. บ๊วย Kakadu ของออสเตรเลีย

ผลไม้แปลก ๆ นี้กำลังสร้างกระแสในออสเตรเลียในฐานะสารกันบูดตามธรรมชาติ ด้วยปริมาณวิตามินซีที่สูงเป็นพิเศษ ทำให้ผลไม้มีสถานะเป็น Superfood เนื่องจากมีวิตามินซีมากกว่าบลูเบอร์รี่และส้มประมาณ 100 เท่า 

นักวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าบ๊วย Kakadu สามารถยืดอายุการเก็บรักษาได้นานถึง 3 เดือน 

7. เซเลอรี่ (Celery)

เซเลอรี่ หรือ ขึ้นฉ่ายฝรั่ง ถูกนำมาใช้เพื่อถนอมอาหารประเภทเนื้อสัตว์ โดยในปี 2560 ออสการ์ เมเยอร์ ประกาศว่า พวกเขาจะหยุดเติมสารกันบูดเทียม ซึ่งรวมถึงโซเดียมไนไตรต์ลงในฮอทดอก และใช้น้ำขึ้นฉ่ายฝรั่งซึ่งเป็นแหล่งโซเดียมไนไตรท์จากธรรมชาติแทนเพื่อรักษาสีแดงหรือชมพูในเนื้อสัตว์ และเพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่เป็นอันตราย 

ก่อนหน้านี้ นักวิจัยด้านสุขภาพระบุว่า โซเดียมไนไตรท์เป็นสารก่อมะเร็ง ซึ่งปัจจุบันบริษัทต่าง ๆ เริ่มให้ความสำคัญกับการใช้ส่วนผสมจากธรรมชาติมากขึ้น

8. กระเทียม (Garlic)

กระเทียมมีคุณสมบัติต้านไวรัส การเพิ่มกระเทียมลงในจานสามารถป้องกันแบคทีเรียที่เป็นอันตรายได้ จากการทดลองในปี 2004 โดยการจุ่มขาไก่ที่ปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา และ อี. โคไล ในกระเทียมและสังเกตเป็นเวลา 15 วันด้วยการเก็บรักษาในตู้เย็น พบว่า ไก่ที่เคลือบกระเทียมมีอัตราการเจริญเติบโตของแบคทีเรียน้อยกว่าตัวอย่างกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ

9. น้ำตาล (Sugar)

น้ำตาลเป็นสารกันบูดตามธรรมชาติที่ทำงานโดยการระเหยน้ำออกจากอาหาร การทำเช่นนี้จะทำให้แบคทีเรียอดอาหารโดยการทำให้แห้ง (Osmosis) หากไม่มีน้ำ แบคทีเรียก็ไม่สามารถเติบโต แบ่ง หรือเพิ่มจำนวนได้ 

น้ำตาลมักใช้เพื่อถนอมผลไม้ ซึ่งช่วยป้องกันแบคทีเรีย เชื้อรา และยีสต์ไม่ให้เจริญเติบโต เช่น การฉาบ การเชื่อม การกวน และการแช่อิ่ม

10. กรดแอสคอร์บิก (Ascorbic Acid)

หากคุณเคยเห็นสิ่งนี้บนฉลากอาหาร คุณอาจคิดว่าถูกหลอกเพราะเป็นสารกันบูดเทียม แต่จริง ๆ แล้ว กรดแอสคอร์บิกเป็นเพียงนามแฝงของวิตามินซี ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ ที่มีหน้าที่ในการรักษาระบบภูมิคุ้มกันของเราให้แข็งแรง 
เมื่อเติมลงในอาหาร กรดแอสคอร์บิกจะชะลอกระบวนการออกซิเดชันและการทำให้สุกช้าลง เพื่อให้อาหารคงความสดได้นานขึ้น และไม่ก่อให้เกิดโทษต่อร่างกาย นิยมใช้ในเครื่องดื่ม เช่น ไวน์ หรือขนมอบ

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *